"GDN" หรือ "Google Display Network" คือ การลงโฆษณาบนเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นเครือข่ายกับทาง Google สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากกว่าการทำ PPC (Pay Per Click) ที่เป็นการลงโฆษณาบนหน้าผลการค้นหา (Search Result Page) ของ Google search
การทำการตลาดผ่าน GDN (Google Display Network) สามารถช่วยให้เข้าถึงลูกค้าได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก เว็บไซต์เครือข่ายที่นำโฆษณาไปแสดงนั้นยังมีคอนเทนต์ที่หลากหลายและมีจำนวนมากกว่า 2 ล้านเว็บไซต์ ซึ่งประกอบไปด้วย
・เว็บไซต์ที่เข้าร่วม Google AdSense
・เว็บไซต์ที่เข้าร่วม DoubleClick Ad Exchange
・เว็บไซต์ของ Google เอง เช่น Google Finance, Gmail, Blogger, Google Maps, และ YouTube (ไม่รวม Google search)
・แอพพลิเคชั่นบนโทรศัทพ์
อย่างไรก็ตาม เราสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมและตั้งค่าโฆษณาได้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การคิดค่าใช้จ่ายของการลงโฆษณาแบบ GDN มีอยู่หลักๆ 2 วิธี คือ
รูปแบบของโฆษณา ของ GDN (Google Display Network) มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท ได้แก่
โฆษณาแบบข้อความสั้นๆ ประกอบด้วย หัวข้อ เนื้อหา 2 บรรทัด และ URL
โฆษณาแบบรูปภาพหรือแบนเนอร์ ซึ่งมีขนาดที่ได้รับความนิยมอยู่ 5 ขนาด
โฆษณาแบบรูปภาพซึ่งเป็นแบบ Interactive หรือ Animation
โฆษณาในรูปแบบวิดีโอซึ่งสามารถเล่นได้เอง
ตัวอย่างโฆษณา GDN แบบแบนเนอร์ (Banner ads)
การเลือกเป้าหมายในการทำ GDN (Google Display Network) มีอยู่หลายวิธี โดยหลักๆ แล้วสามารถแบ่งได้ 4 วิธี ประกอบด้วย
การลงโฆษณาแบบเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Target) หมายตามหัวข้อ (Topic) ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นสินค้าเป็นประเภทเครื่องสำอาง สามารถทำได้โดยกำหนดการแสดงโฆษณาไปในกลุ่มเว็บไซต์เกี่ยวกับเครื่องสำอางและความงาม ทั้งนี้ เราไม่สามารถเลือกเจาะจงเว็บไซต์ได้ เว็บไซต์ที่แสดงโฆษณาจะเป็นการเลือกแบบ Random
การลงโฆษณาแบบเจาะจงเว็บไซต์เป้าหมายที่จะให้โฆษณาไปแสดง อาจเป็นเว็บไซต์ที่เป็นฐานกลุ่มลูกค้า หรือเลือกเว็บไซต์ที่มีการเข้าถึงเป็นจำนวนมาก เช่น sanook.com, mthai.com หรือ kapook.com เพื่อเป็นการทำ Branding ก็ได้
การลงโฆษณาบนเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ Keyword ของเรา ยกตัวอย่างเช่น หากเรากำหนดให้โฆษณาไปแสดงในเว็บไซต์ที่มี Keyword คำว่า "เครื่องสำอาง" เมื่อมีผู้ใช้ค้นหาด้วย Keyword คำว่า "เครื่องสำอาง" และได้เข้ามายังเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายของ Google ที่มีคำว่า "เครื่องสำอาง" อยู่ในเว็บไซต์ โฆษณาของเราจึงจะถูกนำมาแสดงให้ผู้ใช้คนนั้นๆ เห็น
การโฆษณาแบบติดตามเพื่อดึงให้ลูกค้ากลับมา หลักการทำงานของ Remarketing คือ เมื่อผู้ใช้เข้าไปในหน้าเว็บไซต์ที่มีการฝังโค้ดของ Remarketing จากนั้น Browser ก็จะจดจำ Cookie เอาไว้ เมื่อผู้ใช้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายของ Google โฆษณาของเว็บไซต์ที่มีการการฝังโค้ดของ Remarketing นั้นๆ ก็จะถูกนำมาแสดงให้ผู้ใช้เห็น
บริษัท อาอุน ไทย เป็นบริษัทที่ได้รับรองให้เป็น Google Partner และให้บริการทำ GDN โดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับ Google Ads Certification สามารถมั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพ